8

“ตัวตนของแบรนด์” จำเป็นต้องมีด้วยหรือ ?

เกริ่นนำ ในโลกของทางเลือกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์และบริการต่างมีเอกลักษณ์น้อยลง แบรนด์จึงต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภค คุณจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบที่ไม่มีคู่แข่งมาแทนที่ และดึงดูดผู้คนให้ร่วมเดินทางไปกับธุรกิจของคุณได้อย่างไร บางคนอาจกล่าวว่าการบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม ผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า ความสะดวก ราคาที่ต่ำกว่า  หรือความพิเศษเฉพาะตัว แต่คุณจะทราบหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่กำหนด ‘เอกลักษณ์ของแบรนด์’ หรือ ตัวตนของแบรนด์ ให้ลูกค้าประทับใจอยู่ตลอดเวลา การรับรู้ของผู้บริโภค ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคไม่ได้เพียงแค่ซื้อสินค้าหรือบริการอีกต่อไป พวกเขาซื้อแบรนด์ พวกเขาเลือกที่จะเชื่อ ไว้วางใจ และให้คุณค่ากับแบรนด์ ดังนั้นจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าความภักดีต่อแบรนด์ การรับรู้ถึงความเหนือกว่าของแบรนด์ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จ ของแบรนด์ เราขอยกตัวอย่างโควทจากคุณ L. Speisser กล่าวว่า “แบรนด์ที่ยอดเยี่ยมก็เหมือนเพื่อน – คุณพบพวกเขาจำนวนมากทุกวัน แต่คุณจำเฉพาะคนที่คุณรักจริงๆ เท่านั้น” ความแตกต่าง ธุรกิจจำนวนมากสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ผ่าน Data การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาเชิงสินค้าแบบสร้างสรรค์ และกระบวนการจัดการ แต่อย่างไรก็ตามมีบางแบรนด์บางกลุ่มเพียงแค่ขายสินค้าหรือบริการและไม่มีจุดเด่นของแบรนด์ แต่กลับสร้างมันขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวและประสบความสำเร็จ ไม่ว่าคุณจะทำเองหรือจ้างนักวางกลยุทธ์แบรนด์มาช่วย สิ่งสำคัญคือ ความแตกต่าง ความแตกต่างช่วยสร้างการรับรู้และประสบการณ์ที่ดีให้แก่แบรนด์ของคุณ รูปแบบการซื้อสินค้าหรือความประทับใจจากการซื้อสินค้า จะช่วยกำหนดรูปแบบการรับรู้ การรับรู้อาจเป็นไปในทางบวกหรือทางลบ ดังนั้นธุรกิจต่างๆ จึงต้องระมัดระวัง เนื่องจากต้องใช้เวลามากในการเปลี่ยนแปลงการรับรู้เชิงลบให้เป็นบวก ลูกค้าที่มีความสุขจะแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับสังคมพวกเขา ส่งเสริมธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์นั้นในทางอ้อม สิ่งเหล่านี้ถือว่ามีค่าต่อแบรนด์อย่างมาก  […]

7

การตลาดแบบยั่งยืน(รักษ์โลก) สำคัญจริงมั้ย

การตลาดแบบ”ยั่งยืน”คืออะไร? ความยั่งยืนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความต่อเนื่อง การนำพฤติกรรมและการปฏิบัติมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าโลกนี้น่าอยู่ การผลิตสินค้าหรือบริการแต่ละอย่างจะต้องกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเพื่อให้มนุษย์ยุคหลังๆ มีทรัพยากรเหลือใช้ในอนาคต ในทำนองเดียวกัน การตลาดที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของการใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเลือกที่จะมองข้ามประโยชน์แบบระยะสั้นแต่เลือกที่จะเลือกความสำเร็จระยะยาวในอนาคต  ผู้บริโภคมองว่าแบรนด์ต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การตลาดที่ยั่งยืนไม่เพียงเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาพลักษณ์และกลยุทธ์ของแบรนด์ของคุณด้วย ความรับผิดชอบต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมกำลังกลายเป็นค่านิยมทั่วไปที่ลูกค้าส่วนใหญ่คาดหวังให้แบรนด์แสดงเช่นเดียวกับการ Call-Out การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมในแบรนด์ของคุณ และการค้นหาทางเลือกที่ยั่งยืนเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความสนใจให้กับผู้คน ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นมานานและสั่งสมอยู่เรื่อยๆ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเหมือนกับการแข่งขันธุรกิจ แต่หากแบรนด์นั้นมีส่วนที่จะช่วยในการแบ่งเบาหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ผู้คนในสังคมมักจะชื่นชมและยินดีที่จะเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นได้อย่างง่ายดาย ตั้งเป้าหมายตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การตั้งเป้าหมายที่มีรายละเอียดว่าคุณต้องการให้แบรนด์ของคุณทำอะไรให้สำเร็จ แสดงว่าคุณกำลังเริ่มที่จะสื่อสารความจริงใจและความถูกต้องให้กับลูกค้าของคุณ ในขณะเดียวกันก็รักษาตัวเองให้มีความรับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงการซื่อสัตย์กับสิ่งที่ธุรกิจของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาจต้องยอมสูญเสียบางอย่างในระยะสั้นเพื่อนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนแบบใหม่มาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ในระยะยาว (เช่น การเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิล 100%) กลยุทธ์สร้างกลยุทธ์การตลาดระยะยาว การตลาดที่ยั่งยืนสามารถส่งผลให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น การขายที่ประสบความสำเร็จ และลูกค้าที่ภักดีด้วยกลยุทธ์ระยะยาวที่ใช้ความคิดอย่างถี่ถ้วน กลยุทธ์การตลาดที่ยั่งยืนจะช่วยให้คุณมีเวลาในการสร้างธุรกิจและรักษายอดขายนี่คือสิ่งที่ Kevin Roberts อดีต CEO ของ Saatchi&Saatchi เรียกว่า ‘Lovemarks’ หรือ “ความภักดีเหนือเหตุผล” สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการก้าวข้ามการบริโภคเชิงรูปธรรม เพื่อสร้างไดนามิกทางอารมณ์(นามธรรม) ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ ความสำเร็จระยะยาวสร้างขึ้นบนหลักการ ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีส่วนลด คลิกเบต หรือข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ซ่อนอยู่ เหล่านี้คือเทคนิคระยะสั้นเหล่านี้ลดคุณค่าแบรนด์ของคุณและย่อมที่จะสูญเสียลูกค้าในระยะยาว หากคุณพร้อมให้แบรนด์ของคุณก้าวไปอีกขั้นและเริ่มต้นกลยุทธ์การตลาดที่ยั่งยืนเพื่อความสำเร็จในระยะยาว ติดต่อบริษัท อีโก้ แบ็ก

5

การวิจัย: ในช่วงหลังโควิด-19 ปี 2564 แฟชั่นจะมีแนวโน้มสู่ “ความยั่งยืน”

จากการวิจัยที่จัดทำโดย U.S. Cotton Trust Protocol ในระหว่างปี 2021-2022 หลายอย่างถูกยุติไว้จากการระบาดครั้งใหญ่ รวมถึงสหรัฐอเมริกาได้เกิดพายุเฮอริเคนที่น่ากลัวที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่อย่างไรก็ตามในบทความนี้เราจะมองไปถึงปี 2021 U.S. Cotton Trust Protocol ได้ทำการวิจัยว่าต่อไปนี้คือแนวโน้ม 3 ประการที่เราคาดหวังได้จากอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม นักช้อปต้องการให้แบรนด์ตอบสนองความต้องการด้าน”ความยั่งยืน” มากขึ้น จากการทำแบบสำรวจ (Trust Protocol/Economist Intelligence Unit) พบว่าเหตุผลหลักที่ทำให้แบรนด์เสื้อผ้าและสิ่งทอต่างๆหันมาให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมคือ”ลูกค้า” มากกว่าการรณลงค์หรือการโฆษณาจากคู่แข่ง นอกจากนี้กว่า 49% ของแบรนด์ที่ทำบททดสอบรู้สึกว่าหากตนเองไม่ทำตามสัญญาในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือคำสัญญาต่างๆที่เคยให้ไว้กับลูกค้า ลูกค้าของแบรนด์นั้นจะเลือกที่จะไปใช้บริการคู่แข่งในทันที การให้ความสำคัญในเรื่องของ Brand Royalty และคำสัญญาต่างๆที่เคยให้ไว้จะมีความสำคัญในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ยังมีบทสำรวจของ  McKinsey survey ที่ระบุว่า 31 เปอร์เซ็นต์ของ Gen Z และ 26 เปอร์เซ็นของกลุ่ม”มิลเลเนียล”ยินดีที่จะเลือกสินค้าที่มีราคาที่สูงกว่าหากราคาที่จ่ายเกินมานั้นถือมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม ในปี 2021 สมาชิกของ Gen Z ที่อายุมากที่สุดจะเข้าสู่อายุ 24 ปีถือเป็นช่วงวัยที่เริ่มมีกำลังทรัพย์ในการซื้อสินค้า ความต้องการในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนก็จะเติบโตตามไปด้วย แบรนด์และร้านขายปลีก

6

บทสัมภาษณ์: Epson นวัตกรรมการพิมพ์ดิจิตอลบนสิ่งทอ

ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สิ่งทอแบบอิงค์เจ็ตที่ทันสมัย ​ Epson มีเป้าหมายที่จะไม่เพียงแค่เปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมสิ่งทอเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพิมพ์แบบดั้งเดิมอีกด้วย ในปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแบรนด์แฟชั่น เช่นเดียวกับการพิมพ์บนกระดาษที่เปลี่ยนจากออฟเซตเป็นแบบดิจิตอล เช่นเดียวกับการพิมพ์บนสิ่งทอในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยบริษัทต่างๆ เช่น Seiko Epson และเทคโนโลยีอิงค์เจ็ทที่ทันสมัย  ในบทความนี้เราจะพบกับคำถามและคำตอบ ของผู้สัมภาษณ์ Nobuyasu Tanaka — ตัวแทนของ Sun Messe Innovative Network Center (Sinc) กับผู้ให้สัมภาษณ์คือคุณ Kazumi Okuzono ผู้จัดการทั่วไปของ Strategic Planning และ IIJ Sales & Marketing สำหรับแผนกการพิมพ์ของ Epson ที่เรามักจะรู้จักกันในแบรนด์เครื่องพิมพ์ระดับโลก การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ คำถาม: นอกเหนือจากการพัฒนานวัตกรรมและคุณภาพการพิมพ์อิงค์เจ็ทแล้ว ยังมีวิธีแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมประเภทใดบ้าง ? ผ่านการพิมพ์ดิจิทัล ในธุรกิจการพิมพ์สิ่งทอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มีความจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ต่อห่วงโซ่อุปทาน เช่นการพิมพ์แบบอนาล็อก(ต่อไปขอเรียกว่าการพิมพ์แบบเดิม) ในการพิมพ์หนึ่งครั้งจะถูกพิมพ์ออกมาเกินยอดที่ต้องการตามความจริง เนื่องมาการพิมพ์แบบเดิมจะต้องตั้งยอดพิมพ์ค่อนข้างสูงเพราะมีต้นทุนในเรื่องของคนงานและแบบพิมพ์ที่สูงตามไปด้วย เพิ่มเติ่มจากที่กล่าวมาทรัพยากรพลังงานและน้ำจำนวนมากจะถูกใช้ไปกับขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิมพ์แบบเดิม แต่การพิมพ์แบบดิจิทัลสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

3

LanzaTech จับมือ lululemon ผลิต “ผ้า” ชิ้นแรกจากกระบวนการ รีไซเคิลคาร์บอน

จากเอทานอล สู่ “โพลีเอสเตอร์” บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ LanzaTech ประกาศในวันนี้ว่าได้ร่วมมือกับ lululemon athletica inc. (NASDAQ:LULU) บริษัทเครื่องแต่งกายสำหรับกีฬา เพื่อสร้างเส้นด้ายและผ้าผืนแรกของโลกโดยกระบวนการรีไซเคิลคาร์บอนหรือที่รู้จักกันในชื่อ recycled carbon emissions โดยเริ่มต้นจากการผลิตเอทานอลจากแหล่งคาร์บอนที่เป็นของเสียและทำงานร่วมกันกับสถาบัน India Glycols Limited (IGL) และ Far Eastern New Century (FENC) เพื่อเข้าสู่การแปลง “เอทานอล” เป็น “โพลีเอสเตอร์” การรีไซเคิลคาร์บอนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน เราต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม การลดการปล่อยคาร์บอนสำหรับทำ โพลีเอสเตอร์ (Polyester) จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ในการลด Carbon Footprint ได้เป็นอย่างดี แหล่งฟอสซิลบริสุทธิ์ Jennifer Holmgren ซีอีโอของ LanzaTech กล่าวว่า “เราต้องเปลี่ยนวิธีที่เราจัดหา ใช้ และกำจัดคาร์บอนอย่างสิ้นเชิง การรีไซเคิลคาร์บอนช่วยให้บริษัทอย่าง lululemon สามารถย้ายออกจากแหล่งฟอสซิลที่บริสุทธิ์ นำความหมุนเวียนมาสู่ผลิตภัณฑ์ของตน และบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวกับการลดคาร์บอน เราเรียกสิ่งนี้ว่า “CarbonSmart” Ted Dagnese

2

จากขยะทางการเกษตรสู่ วัตถุดิบบนรันเวย์แฟร์ชั่นวีค

ขยะจากการเกษตร จากงานวิจัยล่าสุดของสถาบัน ISC หรือ Institute for Sustainable Communities ระบุว่านอกจากใยฝ้ายที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้าสิ่งทอแล้ว ฟางข้าว,ก้านกล้วยและขยะทางการเกษตรที่ไม่เป็นที่ต้องการในไร่น่า อาจจะสามารถเป็นที่ต้องการบนรันเวย์แฟร์ชั่นได้ งานวิจัยจาก Laudes Foundation ได้ศึกษาพืชผลมากกว่า 40 ชนิดที่สามารถนำไปผลิตเส้นใยสำหรับวงการแฟชั่น การหาวัตถุดิบทนแทนจากของเสียที่ไม่ต้องถูกทำลาย Anita Chester หัวหน้าฝ่ายวัสดุ ขององค์กร Laudes Foundation กล่าวว่า “เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มมากขึ้น จากการเผาทำลายขยะ อุตสาหกรรมแฟชั่นสามารถจัดลำดับความสำคัญและเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหมุนเวียนจากการมองหาแนวทางการผลิตวัตถุดิบใหม่ๆ “ เราเล็งเห็นว่ามีโอกาสที่น่าสนใจในการสร้างมูลค่าจากขยะทางการเกษตร รายงานนี้พิจารณาให้เห็นถึงศักยภาพมหาศาลของขยะเกษตรในฐานะวัตถุดิบที่เป็นไปได้สำหรับเส้นใยสิ่งทอ โดยไม่ได้ระบุเพียงแค่ความเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจุดสำคัญด้วย เราหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยแฟชั่น ทำงานร่วมกับอาหาร เพื่อเสริมสร้างสมดุลให้เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติและผู้คนในอนาคต”     การผลิตเส้นใยทั่วโลกสูงถึง 100 ล้านตันต่อปี การผลิตเส้นใยทั่วโลกสูงถึง 100 ล้านตันต่อปีในปี 2564 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก กากทางการเกษตรสามารถผสมกับเส้นใยที่มนุษย์สร้างขึ้นและเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตวัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าเส้นใยสิ่งทอที่มีสารตกค้างจากการเกษตร เป็นที่ทราบกันดีว่าเส้นใยมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัสดุที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น  ห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว ตามที่รายงานระบุ กระบวนการผลิตสิ่งทอในปัจจุบันมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม เส้นใยที่ใช้ในเครื่องแต่งกายมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเส้นใยน้ำมันและเป็นภาระต่อทรัพยากรธรรมชาติอันเนื่องมาจากการผลิตที่ไม่ได้รับการตรวจสอบและไม่ยั่งยืน ในทำนองเดียวกัน เส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายธรรมดา ซึ่งเป็นเส้นใยสิ่งทอที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอันดับสอง พึ่งพาการใช้สารเคมีทางการเกษตรและน้ำอย่างเข้มข้น นักวิจัยได้ศึกษาพืชผลมากกว่า 40

1

Beyond Leather สตาร์ทอัพจากเดนมาร์ค คิดค้นหนังที่ทำมาจากเศษแอปเปิ้ล (Leap)

Leap คืออะไร Leap คือหนังที่ให้ผิวสัมผัสเหมือนกับหนังวัวแต่ทำมาจากส่วนผสมของเศษแอปเปิ้ลจากการผลิตน้ำแอปเปิ้ล คำว่า leap มาจาก Leftover apples ที่มาของนวัตกรรมการผลิตหนังนี้เกิดขึ้นจากการต้องการสร้างวัตถุดิบหนังที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อธรรมชาติมากที่สุด  เราคิดค้นนวัตกรรม Leap ขึ้นมาเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม วัตถุดิบหนังให้ดีขึ้นกว่าเดิม Beyond Leather วัตถุดิบหนังในปัจจุบัน วัตถุดิบหนังที่เรามักพบเห็นบนเครื่องนุ่งห่มหรือกระเป๋า รวมทั้งเครื่องประดับบางชิ้น จะมาจากสัตว์หลากหลายชนิด ที่นิยมใช้กันส่วนมากมาจาก วัว หมู กระบือและแพะ เกิดจากการลอกหนังออกแล้วนำมา Tanning เพื่อซึมซับสารเคมี ให้แผ่นหนังเกิดความคงทนสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไปได้การผลิตวัตถุดิบหนัง จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆได้แก่การ การเตรียมการ การฟอกหนัง การตกแต่ง จากขั้นตอนที่เราเห็น จะสังเกตได้ว่าการฟอกหนังถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด การฟอกหนังช่วยรักษาคอลลาเจนและโปรตีนเคราตินในผิวหนัง ทำให้หนังมีความยืดหยุ่น และป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ในระหว่างกระบวนการนี้ หนังจะถูกแช่ในน้ำยาฟอกหนังที่ค่อยๆ ซึมผ่านความหนาทั้งหมดของหนัง ในขั้นตอนสุดท้าย วัสดุจะถูกทำให้บางลง มีสี แห้ง และนุ่มขึ้นด้วยวิธีการทางเคมีและทางกล หลังจากนี้ หนังอาจได้รับการเคลือบพื้นผิว เคลือบน้ำมัน ขัดเงา หรือลายนูน แล้วจึงควรไปที่ผู้ผลิต การผลิตหนังแบบเดิม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เมื่อเราพูดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม