บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของเทคนิคงานสกรีนยอดนิยม เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับความต้องการ งบประมาณ และปริมาณงานของคุณได้ง่ายขึ้น พร้อมแนะนำเทคนิคการเลือกโรงงานสกรีนมืออาชีพ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพตามใจคุณ
ก่อนที่จะเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย เรามาทำความรู้จักกับเทคนิคงานสกรีนยอดนิยม 3 ประเภทกันก่อน ได้แก่
1. ซิลค์สกรีน (Silk Screen Printing)
เป็นเทคนิคการสกรีนแบบดั้งเดิม ใช้แม่พิมพ์ตะแกรงไหมบล็อกหมึก แล้วกดลงบนวัสดุ ให้สีซึมผ่านรูตะแกรงไปติดบนชิ้นงาน เหมาะกับงานสกรีน จำนวนมากที่ไม่เน้นรายละเอียด
2. ดิจิตอลพริ้นท์ (Digital Printing)
เป็นเทคนิคพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล สามารถพิมพ์ลายเส้นและสีที่มีรายละเอียดสูงได้ แต่ต้นทุนสูงและไม่เหมาะกับการผลิตจำนวนมาก เหมาะกับงานสกรีนที่มีรายละเอียดซับซ้อน
3. ฮีตทรานเฟอร์ (Heat Transfer)
เป็นเทคนิคพิมพ์ลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยหมึกพิเศษ จากนั้นนำไปรีดความร้อนให้ติดบนวัสดุ ให้ภาพคมชัด สีสดใส แต่ไม่ทนทานเท่าซิลค์สกรีน เหมาะกับงานสกรีนลายซับซ้อนจำนวนไม่มาก
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเทคนิค
ข้อดีของซิลค์สกรีน
– เหมาะกับการสกรีนจำนวนมากๆ แต่ไม่เน้นความละเอียดสูง
– สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด
– สีสดใส ติดทนนาน ไม่หลุดลอกง่าย
– ราคาถูกเมื่อผลิตจำนวนมาก
ข้อเสียของซิลค์สกรีน
– ภาพอาจมีรอยหยัก ไม่คมชัดเท่าดิจิตอลพริ้นท์
– ไม่เหมาะกับการสกรีนตัวหนังสือเล็กๆ
– ลายสกรีนบางครั้งอาจไม่เท่ากัน มีจุดขาดหาย
– ไม่คุ้มทุนหากสกรีนจำนวนน้อย
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเทคนิค
ข้อดีของดิจิตอลพริ้นท์
– ให้ภาพคมชัด มีรายละเอียดสูง
– สามารถพิมพ์ลายเส้นและสีที่ซับซ้อนได้
– ไม่จำกัดจำนวนสีเหมือนซิลค์สกรีน
– เหมาะกับงานเร่งด่วนที่มีจำนวนไม่มาก
ข้อเสียของดิจิตอลพริ้นท์
– ต้นทุนต่อชิ้นสูงกว่าซิลค์สกรีน
– ไม่เหมาะกับการผลิตจำนวนมาก
– สีอาจไม่สดใสเท่าซิลค์สกรีน
– ต้องใช้ผ้าคุณภาพสูงเพื่อให้สีติดทน
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเทคนิค
ข้อดีของฮีตทรานเฟอร์
– ให้ลายเส้นคมชัด สีสดใส
– ราคาไม่แพงมากนัก คุ้มค่า
– สามารงานสกรีนลายที่มีรายเอียดได้
– ใช้เวลาสกรีนไม่นาน เหมาะกับงานเร่ง
ข้อเสียของฮีตทรานเฟอร์
– ไม่สามารถรีดลงบนผ้าด้านที่สกรีนภาพได้โดยตรง มีโอกาสแตก หลุดลอกได้
– หากใช้วัสดุไม่ดีเนื้องานอาจจะมีความแข็งกระด้าง และมีโอกาสที่จะหลุดลอก
– ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าระบบซิลค์สกรีน
– กระดาษและหมึกบางชนิดยังจำกัดเนื้อผ้าและสีผ้าอยู่บ้าง
ปัจจุบันเรามีเครื่องมือช่วยในการทำงานสกรีนหลากหลายรูปแบบ ก่อนทำธุรกิจสกรีนเพื่อให้ครอบคลุมก็ต้องศึกษาความรู้พื้นฐานของงานสกรีนก่อน เพื่อให้เราเลือกประเภทของงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี ถ้าหากสนใจผลิตกับเราก็ติดต่อ สอบถามเราได้ทุกช่องทางเลยนะคะ